Search
Close this search box.

EXPLORE THE PROJECT

องค์ประกอบโครงการ

องค์ประกอบของท่าเรือจะแบ่งเป็น 2 พื้นที่
คือ พื้นที่ท่าเรือและพื้นที่หลังท่า

1. พื้นที่ท่าเรือ

(Container Terminal E&F )

  • ความยาวหน้าท่าเทียบเรือ E 1,500 เมตร และความยาวหน้าท่าเทียบเรือ F 2,000 เมตร ความกว้าง 500 เมตร ความลึก 18.5 เมตร รทก.
  • นำระบบ Automation มาใช้ในโครงการ
(Ro-Ro Terminal : E0)
  • อยู่ทางด้านท้ายของแอ่งจอดเรือ สามารถรองรับเรือขนส่งรถยนต์เข้าออกเทียบท่าได้ 3 ลำ พร้อมกัน
  • มีพื้นที่ ที่ใช้ในการจอดรถทั้งหมด 198,884 ตารางเมตร
  • มีพื้นที่สำหรับอาคารสำนักงาน โรงตรวจสอบสภาพรถยนต์
  • ความยาวของท่าเรือ 920 เมตร ลึก 414 เมตร และมีพื้นที่รวมประมาณ 374,915 ตารางเมตร

(Coastal Terminal)

  • ใช้สำหรับขนส่งสินค้าภายในประเทศ ตั้งอยู่ภายนอกรั้วศุลกากร บริเวณด้านทิศใต้ของโครงการทำการขุดลอกให้บริเวณแอ่งจอดเรือมีความลึก 9.0 เมตร รทก.
  • ความยาวหน้าท่าขนาด 500 เมตรและมีพื้นที่หลังท่าขนาด 200x500 ตารางเมตร
  • รองรับการขนถ่ายตู้สินค้า 1 ล้านทีอียูต่อปี รองรับเรือบรรทุกตู้สินค้าขนาด 5,000 (เดทเวทตัน) ความยาวเรือ 92 เมตร ความกว้าง 20 เมตร กินน้ำลึก 5.8 เมตร จอดเทียบท่าพร้อมกันได้ 4 ลำ
  • ท่าเรือสำหรับเรือขนาดเล็ก มีหน้าท่ายาว 435 เมตร ตำแหน่งท่าเรือบริการอยู่ทางด้านใต้ของท่าเรือ E
  • สำหรับเทียบเรือลากจูงจำนวน 12 ลำ เรือจัดเก็บขยะ จำนวน 1 ลำ เรือรับ-ส่งเจ้าหน้าที่ จำนวน 2 ลำ เรือฉุด (สำรองที่ไว้) จำนวน 1 ลำ
  • ร่องน้ำที่ใช้ร่วมกันระหว่างเรือขนส่งตู้สินค้าและเรือบรรทุกรถยนต์ ออกแบบให้ร่องน้ำเป็นแบบเดินเรือ 2 ทาง มีความกว้าง 600 เมตร ความลึกร่องน้ำที่ระดับ -18.5 เมตร รทก. และเผื่อระยะฐานโครงสร้างสำหรับการขุดลอกเพิ่มในอนาคตที่ระดับ -19.5 เมตร รทก.
  • แอ่งจอดเรือและแอ่งกลับลำเรือ มีความกว้างรวม 920 เมตร

เขื่อนกันคลื่นของโครงการมีดังนี้

  • เขื่อนกันคลื่นหมายเลข 1 อยู่บริเวณพื้นที่สำหรับพัฒนาในอนาคต มีความยาวประมาณ 1,000 เมตร
  • เขื่อนกันคลื่นหมายเลข 2 อยู่บริเวณท่าเรือชายฝั่ง มีความยาวประมาณ 1,600 เมตร
  • เขื่อนกันคลื่นหมายเลข 3 อยู่บริเวณปากคลองบางละมุง มีความยาวประมาณ 420 เมตร
  • เขื่อนกันคลื่นหมายเลข 4 อยู่บริเวณทางออกของประตูระบายน้ำ มีความยาวประมาณ 110 เมตร

เขื่อนล้อมพื้นที่ถมสามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ประเภท ได้แก่

  • 1) เขื่อนแบบ A-1 ความยาวประมาณ 6,500 เมตร
  • 2) เขื่อนแบบ A-2 ความยาวประมาณ 2,000 เมตร
  • 3) เขื่อนแบบ A-3 ความยาวประมาณ 160 เมตร
  • 4) เขื่อนแบบ B-1 ความยาวประมาณ 450 เมตร
  • 5) เขื่อนแบบ B-2 ความยาวประมาณ 1,350 เมตร
  • 6) เขื่อนแบบ D-1 ความยาว 3,000 เมตร
  • 7) เขื่อนแบบ D-2 ความยาวประมาณ 5,000 เมตร
  • 8) เขื่อนแบบ F ความยาวประมาณ 3,000 เมตร

พิจารณาความสอดคล้องกับกิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วย

  • อาคารสถานีสูบจ่ายน้ำประปา
  • อาคารสถานีไฟฟ้าย่อย
  • อาคารพักขยะทั่วไป และขยะอันตราย
  • อาคารประตูตรวจสอบ 5
  • อาคารร้านอาหารและจำหน่ายสินค้าปลอดภาษี
  • กลุ่มอาคารท่าเรือชายฝั่งและท่าเรือบริการ
  • สิ่งอำนวยความสะดวกที่รองรับกิจกรรมท่าเรือ ได้แก่ การขนส่งระบบราง เครื่องชั่งน้ำหนักรถบรรทุก ระบบผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-gate) ระบบเก็บเงินค่าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Toll) การสแกนตู้สินค้า 100% (100% Scanning ) และระบบ E-logistics

ย่านรถไฟโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 มี 2 ย่านรถไฟ โดยมีจุดเริ่มต้นบริเวณก่อนถึงย่านรถไฟ SRTO เดิม ไปยังพื้นที่หลังท่าเรือขนส่งตู้สินค้าชุด F และท่าเรือขนส่งตู้สินค้าชุด E

  • ท่าเรือชุด F แนวเส้นทางรถไฟตัดผ่านพื้นที่หลังท่าเรือขนส่งตู้สินค้าชุด F จำนวน 5 พวงราง จอดขบวนรถไฟ 3 ราง รางละ 2 ขบวน รวมจอดขบวนรถไฟทั้งหมดได้ 6 ขบวนพร้อมกัน โดยมีความยาวตั้งแต่จุดเริ่มต้นถึงสิ้นสุดที่หลังท่าเรือขนส่งตู้สินค้า F2 มีระยะทางรวม 7.103 กิโลเมตร
  • ท่าเรือ E แนวเส้นทางรถไฟที่ตัดผ่านพื้นที่หลังท่าเรือขนส่งตู้สินค้าชุด E จำนวน 3 พวงราง จอดขบวนรถไฟได้ 2 ราง รางละ 2 ขบวน รวมจอดขบวนรถไฟทั้งหมดได้ 4 ขบวนพร้อมกัน มีจุดเริ่มต้นแยกจากเส้นทางรถไฟสายพื้นที่หลังท่าเรือขนส่งตู้สินค้าชุด F ถึงจุดสิ้นสุดหลังท่าเรือขนส่งตู้สินค้า E1 มีระยะทางรวมประมาณ 2.289 กิโลเมตร

2. พื้นที่หลังท่า (Hinterland)

พื้นที่แนวหลังท่าเรือ (Hinterland) คือพื้นที่ส่วนภาคพื้นดิน ที่อยู่หลังท่าเรือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับกิจกรรมของท่าเรือ และยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อ ปริมาณของสินค้า และประเภทของสินค้า
ที่ผ่านท่าเรือดังกล่าว ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างท่าเรือ และพื้นที่หลังท่านั้นประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลายประการ อาทิ โครงข่ายคมนาคม ในการเชื่อมต่อระหว่างท่าเรือ กับพื้นที่แนวหลังท่าเรือ รวมถึงผลผลิตของพื้นที่แนวหลังท่าเรือ ความต้องการในการนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต และการส่งออกผลผลิต ซึ่งจะส่งผลต่อประเภทและปริมาณของสินค้าผ่านท่าเรือ นอกจากนั้น มาตรการสนับสนุนจากทางภาครัฐก็จะมีผลต่อทำเลที่ตั้ง ท่าเรือและโครงข่ายคมนาคมที่เชื่อมโยงท่าเรือกับพื้นที่แนวหลังด้วย

พื้นที่แนวหลังท่าเรือ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

ส่วนที่ 1

พื้นที่ภาคพื้นดินที่อยู่ประชิดกับท่าเรือ (Primary Hinterland) ซึ่งอยู่ประชิดกับทางท่าเรือ โดยท่าเรือที่มี (Primary Hinterland) ขนาดใหญ่จะยิ่งส่งผลให้ปริมาณสินค้าที่ผ่านท่าเรือนั้นมากตามไปด้วย อาทิ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากท่าเรือแหลมฉบัง ประมาณ 2 กิโลเมตร การขนส่งสินค้าจึงขนส่งผ่านท่าเรือแหลมฉบังเป็นหลัก

ส่วนที่ 2

พื้นที่แนวหลังที่อยู่ไกลออกไปจากท่าเรือ (Competitive Hinterland) โดยขอบเขตของพื้นที่แนวหลังท่าเรือประเภทนี้ อาจจะอยู่ห่างออกไป หรืออาจจะอยู่คนละประเทศก็ได้ โดยผ่านการเชื่อมโยงของโครงข่ายคมนาคม ดังนั้น ท่าเรือที่มีโครงข่ายคมนาคมยิ่งกว้างและไกลออกไปเท่าไหร่ พื้นที่แนวหลังท่า ก็จะยิ่งกว้างและไกลออกไปเท่านั้น อาทิ ICD ลาดกระบัง ซึ่งเป็นพื้นที่แนวหลังท่าเรือที่อยู่ห่างออกไปจากท่าเรือแหลมฉบัง โดยโครงข่ายคมนาคม รถไฟในการเชื่อมโยงดังกล่าว