เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ที่รัฐบาลต้องการเร่งพัฒนาให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อให้มีการเชื่อมต่อและขนส่งสินค้าไปยังกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม) และประเทศจีนตอนใต้ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการขนส่งและกระจายสินค้าที่สำคัญของภูมิภาคและเตรียมผลักดันให้เป็นท่าเรือชั้นนำของโลก
เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ที่รัฐบาลต้องการเร่งพัฒนาให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อให้มีการเชื่อมต่อและขนส่งสินค้าไปยังกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม) และประเทศจีนตอนใต้ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการขนส่งและกระจายสินค้าที่สำคัญของภูมิภาคและเตรียมผลักดันให้เป็นท่าเรือชั้นนำของโลก
โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเปิดให้บริการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 1 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 ต่อมามีการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 2 ในปี พ.ศ.2540 และเปิดให้บริการ ระยะที่ 2 ในปี พ.ศ.2546 ปัจจุบัน ท่าเรือแหลมฉบังมีขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้า 11 ล้าน ทีอียู/ปี ทำให้เป็นท่าเรือขนส่งสินค้าที่ใหญ่และสำคัญของประเทศไทย
การท่าเรือฯ ได้มีการพิจารณาขีดความสามารถของท่าเรือแหลมฉบังที่มีอยู่ในปัจจุบันเปรียบเทียบกับการคาดการณ์ปริมาณตู้สินค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตแล้ว การทำเรือฯ จึงได้วางแผนพัฒนาโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการค้าของประเทศและรองรับการพัฒนาตามแผนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (EEC)
งานก่อสร้างทางทะเล
ประกอบด้วย งานขุดลอกและถมทะเล งานขนย้ายดินเลน งานคันหินล้อมพื้นที่ถมทะเล งานเขื่อนกันคลื่น งานเครื่องหมายช่วยการเดินเรือ และงานก่อสร้างประตูระบายน้ำ
งานก่อสร้างอาคาร ท่าเรือ ระบบถนน และระบบสาธารณูปโภค
ประกอบด้วย งานก่อสร้างอาคาร งานก่อสร้างท่าเทียบเรือ บริการ ท่าเทียบเรือชายฝั่งงานก่อสร้างถนน และงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค
งานก่อสร้างระบบรถไฟ
ประกอบด้วย งานก่อสร้างระบบรถไฟทางคู่ใหม่ จำนวน 2 ทาง โดยมีจุดเริ่มต้นบริเวณก่อนถึงย่านรถไฟ SRTO ไปยังพื้นที่หลังท่าเรือขนส่งตู้สินค้าชุด F และท่าเรือขนส่งตู้สินค้าชุด E
งานจัดหาและติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์สำหรับขนย้ายสินค้า พร้อมออกแบบและติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับบริหารท่าเรือและระบบโครงสร้างพื้นฐานกลาง
ประกอบด้วย งานจัดหา ประกอบและติดตั้งเครื่องจักรสำหรับขนย้ายสินค้า 3 ประเภท จำนวน 10 คัน ได้แก่ ปั้นจั่นยกสินค้าหน้าท่า จำนวน 2 คัน รถคานยกเคลื่อนที่ชนิดล้อยางทำงานด้วยระบบไฟฟ้าแบบกึ่งอัตโนมัติ จำนวน 6 คัน รถคานเคลื่อนที่ยกตู้สินค้าชนิดเดินบนราง จำนวน 2 คัน รวมทั้งงานออกแบบและติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับบริหารท่าเรือและระบบโครงสร้างพื้นฐานกลาง
114,000 ล้านบาท
35 ปี
149,045 ล้านบาท
ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership:PPP)