
ขั้นตอนการก่อสร้างคันหินล้อมพื้นที่ถมทะเล
ขั้นตอนที่ 1 ปูแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) และวางหินฐาน (TOE)
ขั้นตอนที่ 2 ถมทรายหลังหินฐาน (TOE) เพื่อทำคันทราย
ขั้นตอนที่ 3 ปรับความลาดชันของคันทรายและปูแผ่นใยสังเคราะห์
ขั้นตอนที่ 4 เรียงหินชั้นใน
ขั้นตอนที่ 5 เรียงหินชั้นนอก
ขั้นตอนที่ 6 ถมทรายด้านหลัง


คันหินล้อมพื้นที่ถมทะเล
บริเวณท่าเรือ E0

คันหินล้อมพื้นที่ถมทะเล
บริเวณท่าเรือ F

คันหินล้อมพื้นที่ถมทะเล
บริเวณพื้นที่สำหรับพัฒนาในอาคต

คันหินล้อมพื้นที่ถมทะเล
บริเวณบ่อตะกอน
มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
- บริเวณพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนล้อมพื้นที่ถม ต้องล้อมม่านกันตะกอน 1 ชั้น โดยรอบและเคลื่อนย้ายม่านกันตะกอนไปตามกิจกรรมการก่อสร้าง
- ดูแลป้องกันตะกอนและสารแขวนลอยจากกิจกรรมการก่อสร้างไม่ให้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำโดยรอบพื้นที่ปฏิบัติงาน
- ควบคุมไม่ให้ความเข้มข้นของปริมาณตะกอนนอกม่านกันตะกอน บริเวณจุดควบคุมปริมาณตะกอนแขวนลอยบริเวณพื้นที่โครงการมีความเข้มข้นของตะกอนเกินกว่า 89 มิลลิกรัมต่อลิตร และควบคุมปริมาณตะกอนแขวนลอยในอ่าวบางละมุง-นาเกลือ จำนวน 2 สถานี ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ไม่เกิน 16.1 และ 16.0 มิลลิกรัมต่อลิตร
- ตรวจสอบม่านกันตะกอนให้อยู่ในสภาพที่สามารถกันตะกอนได้ หากพบว่าไม่สามารถกันตะกอนได้ ให้หยุดกิจกรรมการก่อสร้าง และซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อนเริ่มกิจกรรมการก่อสร้างต่อไป
- จัดให้มีทีมตรวจสอบม่านกันตะกอนประจำโครงการ เพื่อตรวจสอบม่านกันตะกอนเป็นประจำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
- จัดให้มีแผนการบำรุงรักษาม่านกันตะกอนเชิงป้องกันเพื่อให้ม่านกันตะกอนอยู่ในสภาพดี หากพบว่าม่านกันตะกอนชำรุด ต้องจัดทีมเข้าซ่อมแซม พร้อมจัดทำรายงานการซ่อมแซมแก้ไขและให้ข้อเสนอแนะในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำต่อทีมตรวจสอบม่านกันตะกอน