
เขื่อนกันคลื่น | ความยาว (เมตร) | พื้นที่ก่อสร้าง | สถานะ |
---|---|---|---|
เขื่อนกันคลื่นหมายเลข 1 (ฺBreak Water No.1) | 1,000 | บริเวณพื้นที่สำหรับพัฒนา ในอนาคต | อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง |
เขื่อนกันคลื่นหมายเลข 2 (ฺBreak Water No.2) | 1,600 | บริเวณท่าเรือชายฝั่ง | อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง |
เขื่อนกันคลื่นหมายเลข 3 (ฺBreak Water No. 3) | 411 | บริเวณปากคลองบางละุมง | อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง |
เขื่อนกันคลื่นหมายเลข 4 (ฺBreak Water No. 4) | 110 | บริเวณทางออกของบ่อพักน้ำ | แล้วเสร็จ |
ขั้นตอนการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น
ขั้นตอนที่ 1 ปูแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile Laying)
ขั้นตอนที่ 2 ลงหินรองพื้น (Mattress Stone Fill)
ขั้นตอนที่ 3 ลงหินชั้นใน (Quarry-run Filling)
ขั้นตอนที่ 4 เรียงหินชั้นกลาง (Under Layer Stone Backfill)
ขั้นตอนที่ 5 เรียงหินชั้นนอก (Installation Of Armor Stone)





มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
- ติดตั้งม่านกันตะกอน 1 ชั้น บริเวณพื้นที่ก่อสร้างรอบนอก (โดยให้ครอบคลุมบริเวณพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นเขื่อนล้อมพื้นที่ถม และเรือขุด)
- จัดให้มีทีมตรวจสอบม่านกันตะกอนประจำโครงการ เพื่อตรวจสอบม่านกันตะกอน
- เป็นประจำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
- ควบคุมความเข้มข้นของปริมาณตะกอนนอกม่านกันตะกอนบริเวณจุดควบคุมปริมาณตะกอนแขวนลอยบริเวณพื้นที่โครงการ ไม่ให้เกินกว่า 89 มิลลิกรัมต่อลิตร หากพบว่ามีความเข้มข้นเกินกว่าค่าที่กำหนดให้หยุดกิจกรรมการถมทะเลกิจกรรมการก่อสร้างที่ก่อให้เกิดตะกอน จนกว่าผลการตรวจวัดจะมีค่าอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
- จัดให้มีแผนการบำรุงรักษาม่านกันตะกอนเชิงป้องกันเพื่อให้ม่านกันตะกอนอยู่ในสภาพดี หากพบว่าม่านกันตะกอนชำรุด ต้องจัดทีมเข้าซ่อมแซมภายใน 24 ชั่วโมงหรือในโอกาสแรกที่สภาพอากาศและสภาพคลื่นลมเอื้ออำนวยให้การทำงานดำเนินได้ด้วยความปลอดภัยหลังจากได้รับแจ้งเหตุ พร้อมจัดทำรายงานการซ่อมแซมแก้ไขและให้ข้อเสนอแนะในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำต่อทีมตรวจสอบม่านกันตะกอน